การเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
บารอน (Baron,Robert A.,1998:1770) ให้ความหมายว่าการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
คูน (Coon Dennis,1994:261) กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร เนื่องมาจากได้รับประสบการณ์
พฤติกรรมการเรียนรู้
แบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ 1.พฤติกรรมทางสมอง
2.พฤติกรรมทางกล้ามเนื้อและประสาท
3.พฤติกรรมทางอารมณ์หรือความรู้สึก
ทฤษฏีการเรียนรู้
ทฤษฎีเป็นความรู้ที่เกิดจากสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลและจินตนาการ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ทฤษฎีจะเป็นที่ยอมรับเมื่อผ่านการทดลองแล้ว
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาสนใจและศึกษาค้นคว้ามีหลายทฤษฎี แต่จะกล่าวเพียง 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หรือกลุ่มการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้อธิบายการเรียนรู้ว่า การขึ้นจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งพวกเขาได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค พาฟลอฟ เป็นการนำเสนอสิ่งเร้า 2ตัวพร้อมๆ กันระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข เพื่อต้องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ช่วยให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ เป็นการวางเงื่อนไขการกระทำที่เกิดก่อน และตามด้วยการให้เติมตัวเสริมแรง และตัวเสริมแรงนี้จะมีการกระตุ้นให้มีการตอบสนอง
1.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของธอร์นไดค์ หรืทฤษฎีการเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก
2. กลุ่มความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitive Learning Theory or Field Theory )
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลในช่วงของการเรียนรู้ บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ สำหรับทฤษฎีกลุ่มนี้นำเสนอ 2ทฤษฎี คือ
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น (Insight Learning) เป็นการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการคิดสมองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาคิดแก้ปัญหา
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือการเรียนรู้โดยสังเกต (Social Learning or Oservational Theory) ทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้โดยการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ กระบวนการตั้งใจ กระบวนการจดจำ กระบวนการทำเหมือนตัวแบบ และกระบวนการจูงใจที่ผู้เรียนคาดหวัง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าแต่ละแนวคิด ของการเรียนรู้ต่างก็มีประโยชน์ต่อครู ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การรู้สึกและการรับรู้
ความหมาย ของการรู้สึก คือกระบวนการรับข่าวสารข้อมูลในรูปพลังงานจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว ให้เป็นการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการรู้รส หรือกล่าวได้ว่าเมื่อได้รับข่าวสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้ว จะมีการแปลงสิ่งนั้นให้เป็นสิ่งที่มีความหมาย ซึ่งเรียกว่า การรับรู้
ความหมาย ของการรับรู้ คือกระบวนการทางสมองในการจัดหมวดหมู่และแปลความหมายจากสิ่งที่ประสาทรับ สัมผัสของร่างกายไปสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกให้เป็นสิ่งที่มีความหมาย การแปลความหมายนี้ผู้รับรู้ จะต้องมีอวัยวะรับสัมผัสสมบูรณ์ ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นผลของความรู้เดิมบวกกับการรับสัมผัส หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลของการเรียนรู้บวกกับความรู้สึก จากการสัมผัส
การนำเอาไปใช้ในการเรียนการสอน
1. สำรวจตัวผู้เรียนก่อนว่ามีปัญหาในด้านการรับรู้หรือไม่
2. จัดให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้สิ่งต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการรับรู้ อันเป็นแนวทางเสริมสร้างการเรียนรู้ไปด้วย
3. สนใจเด็กที่มีปัญหาต่อการรับรู้ เช่น อวัยวะรับสัมผัสบกพร่อง สายตาสั้น สายตาเอียง ฯลฯ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม นอกจากจะช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น